Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ผลกระทบโลกร้อน! คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมยุโรป-เอเชีย

ผลกระทบโลกร้อน! คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมยุโรป-เอเชีย

หลายภูมิภาคทั่วโลกยังคงเผชิญกับคลื่นความร้อนที่หนักและรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ไปจนถึงเอเชีย ในเอเชีย ประเทศที่เจอหนักคือจีนและญี่ปุ่น โดยหลายคนบอกว่าเป็นความร้อนแบบที่ไม่เคยเจอมากก่อน

มาดูสถานการณ์ในทวีปยุโรปกันก่อน คลื่นความร้อนหรือ Heatwave ที่ยุโรปกำลังเผชิญมีชื่อเรียกว่า “เซอร์เบอรัส" ซึ่งตั้งตามชื่อของสุนัขสามหัวที่ทำหน้าที่เฝ้าประตูนรกเพื่อป้องกันไม่ให้คนตายหลบหนี ตามความเชื่อของเทพปกรณัมกรีกและโรมัน

ความร้อนแผดเผา 3 ทวีป อุณหภูมิหลายประเทศสูงทุบสถิติต่อเนื่อง

โลกร้อนเดือด บางจุดใกล้แตะ 50 องศาเซลเซียส

ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดไล่มาตั้งแต่ อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ กรีซ ไปจนถึงโครเอเชีย ในอิตาลี ทางการได้ประกาศเตือนภัยสภาพอากาศร้อนระดับสีแดงใน 16 เมืองทั่วประเทศแล้ว โดยคำเตือนที่ออกมาจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยในพื้นที่ 16 เมืองจะอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส และบางพื้นที่อาจพุ่งสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส เช่น บนเกาะซาร์ดิเนียที่อุณหภูมิอาจไปแตะที่ 48 องศาเซลเซียส

ส่วนที่สเปน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่า พื้นที่เสี่ยงภัยคือทางตอนใต้เนื่องจากอุณหภูมิจะขึ้นสูงสุดถึง 44 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า

ที่โครเอเชียก็เจอกับผลกระทบหนักไม่แพ้กัน จากภาพ คนจำนวนมากทั้งชาวโครเอเชียและนักท่องเที่ยวต่างมารวมตัวกันที่ชายหาดเพื่อคลายความร้อน กรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาแห่งโครเอเชียรายงานว่า อุณหภูมิสูงสุดช่วงตอนเที่ยงวันของเมื่อวานนี้สูงถึง 35 องศาเซลเซียส และคาดว่าอุณหภูมิจะพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ใช่จุดที่รุนแรงที่สุด มีการคาดการณ์ว่าผลกระทบจากคลื่นความร้อนจะหนักขึ้นกว่านี้หลังจากมีรายงานว่า แอนติไซโคลนที่มีชื่อเรียกว่า “ชารอน” ซึ่งเป็นชื่อของผู้ขนส่งคนตายตามความเชื่อเทพเจ้ากรีกและโรมัน กำลังเคลื่อนที่จากทวีปแอฟริกาเหนือ เข้าแผ่ปกคลุมทั่วยุโรปภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งนี่อาจส่งผลทำให้สภาพอากาศในยุโรปร้อนยิ่งกว่าเดิม

 ผลกระทบโลกร้อน! คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมยุโรป-เอเชีย

จากฝั่งตะวันตก ข้ามมายังฝั่งตะวันออกคือที่เอเชียที่ตอนนี้หลายพื้นต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดเช่นกัน เช่น ประเทศญี่ปุ่น โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นรายงานว่า เมื่อวานนี้หลายจังหวัดของประเทศมีอุณหภูมิสูงแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมากก่อน เช่น ในจังหวัดไซตามะ อุณหภูมิสูงสุดช่วงตอนเที่ยงวันสูงถึง 38.4 องศาเซลเซียส และจังหวัดชิซุโอกะที่อุณหภูมิสูงสุดช่วงตอนเที่ยงวันสูงถึง 38.2 องศาเซลเซียส

ความร้อนส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางมีอาการฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดจนต้องเข้าโรงพยาบาลทางการญี่ปุ่นได้ออกมาประกาศเตือนความเสี่ยงด้านสุขภาพใน 32 จังหวัด โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงใต้ แนะนำให้ประชาชนพกร่ม ดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแดดโดยตรง และเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง หลายคนบอกว่านี่เป็นความร้อนแบบที่ไม่เคยเจอมากก่อนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อีกประเทศหนึ่งที่กำลังเจอกับสภาพอากาศร้อนแบบสุดขั้วคือ จีน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของจีนรายงานว่า อุณหภูมิที่หมู่บ้านซานเปาในเขตปกครองตนเองซินเจียง ที่วัดในช่วงเวลา 19.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ผ่านมาสูงถึง 52.2 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติเดิมที่เคยบันทึกไว้เมื่อปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 50.6 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบด้านพลังงานและความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว สถานการณ์ในครั้งนั้นรุนแรง ระดับน้ำในแม่น้ำแยงซีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของจีนลดต่ำลง ส่งผลให้โรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำที่อยู่บริเวณใกล้เคียงผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง เกิดการขาดแคลนน้ำและพลังงานอย่างรุนแรง

คลื่นความร้อนเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่พื้นที่ในบริเวณนั้นๆ มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนๆ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกกำหนดนิยามไว้ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะต้องสูงกว่า 5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิปกติ และจะต้องเกิดขึ้นนานอย่างน้อย 5 วัน

เช่น พื้นที่ A มีอุณหภูมิอากาศปกติอยู่ที่ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส เมื่อมวลความร้อนเคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้อุณหภูมิในบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 30-35 องศาเซลเซียสอย่างฉับพลัน โดยอุณหภูมิอากาศจะเป็นเช่นนี้ต่อไปนานหลายสัปดาห์ คลื่นความร้อนนั้นเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ

สาเหตุแรกเกิดจากลักษณะของสภาพอากาศเอง เช่น ในพื้นที่นั้นอาจจะมีมวลอากาศนิ่ง ลมสงบส่งผลให้อากาศร้อนไม่เคลื่อนที่ไปไหน อุณหภูมิในบริเวณนั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฎการณ์นี้เรียกว่า “ฮีทโดม” และมักเกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาและอเมริกาเหนือ รวมถึงในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และปากีสถาน

สาเหตุที่ 2 อาจเกิดจากการที่กระแสลมพัดพาเอามวลอากาศร้อนจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นมายังพื้นที่นั้นๆ ซึ่งปกติมักไม่เผชิญกับอากาศร้อน หรือที่เรียกว่า “แอนติไซโคลน" อย่าง กรณีของคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป

อย่างไรก็ตาม คลื่นความร้อนในปีนี้มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นและยาวนานขึ้น หลายประเทศมีอุณหภูมิพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากชี้ว่า สาเหตุหลักมาจากภาวะโลกร้อน

กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และรวมตัวกันก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นและเกิดสภาพอากาศแปรปรวนตามมา

ในปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญที่เริ่มขึ้นแล้วตั้งแต่เข้าเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเอลนีโญจะส่งผลให้สภาพอากาศร้อนขึ้นและแห้งแล้งขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า หลายประเทศอาจต้องเผชิญกับอุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ผลกระทบจากเอลนีโญได้ปรากฎให้เห็นแล้วเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ศูนย์พยากรณ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ ระบุว่า ถือเป็นวันที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกมา

อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงถึง 17.18 องศาเซลเซียส สูงกว่าสถิติวันที่ร้อนที่สุดในปี 2016 ที่ในตอนนั้นค่าเฉลี่ยอุณหภูมิอยู่ที่ 16.92 องศาเซลเซียส ซึ่งในปีนั้นก็เป็นปีที่โลกเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญเช่นกัน